วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

อาการใน 'ลูกแรกเกิด’ ที่พ่อแม่ต้องพึงระวัง

1 .อุณหภูมิร่างกายลูกสูง-ต่ำผิดปกติ

ปกติอุณหภูมิเด็กแรกเกิดนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งหากลูกปกติ อุณหภูมิไม่ควรจะมากกว่า หรือต่ำกว่า 0.5 องศา สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่ออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส คือตัวลูกจะร้อน คุณพ่อ หรือคุณแม่ ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางรักแร้นาน 3-5 นาที แล้วอ่านค่า ทั้งนี้ไม่ควรเอาใส่ในปากเด็ก เนื่องจากเด็กจะกัด ทำให้ปรอทแตกได้ ส่วนปรอทที่ใช้วัดทางหน้าผาก อาจอ่านค่าผิดพลาดได้ ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเล็ก และถ้ามีไข้ควรพบแพทย์ทันที

ส่วนกรณีที่ลูกตัวเย็นคุณแม่สามารถใช้มือสัมผัสได้ว่า ลูกตัวเย็น พร้อมกับสังเกตว่าปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำหรือไม่ หากลูกยังมีอาการเขียวคล้ำ และดูซึมๆ ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ เนื่องจากเด็กอาจมีภาวะติดเชื้อได้ ถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 1 เดือนมีไข้ ไม่ควร ให้ทานยาลดไข้เองโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจเป็นการปิดบังอาการ และเกิดอันตรายต่อเด็กได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง 0-28 วัน หรือหลังคลอด 1 เดือน ไม่ควรพาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้าน เพราะลูกยังมีการปรับตัวในเรื่องอุณหภูมิของร่างกายยังไม่ดี อาจเจ็บป่วย และติดเชื้อได้ง่าย

2. ลูกผิวเหลืองจนผิดสังเกต

เด็กปกติผิวควรเป็นสีชมพูแดงดี ถ้าเมื่อไหร่กดดูสีผิวลูกแล้ว ลูกมีอาการสีผิวออกเหลืองส้มเหมือนทาขมิ้น ควรรีบพามาพบแพทย์ ซึ่งในเด็กปกติอาจมีอาการตัวเหลืองได้ในวันที่ 3-5 หลังกลับจากโรงพยาบาล จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในอายุ 7 วัน โดยอาการตัวเหลือง จะเริ่มเหลืองจากหน้า ลงไปเรื่อยๆ จนถึงขา แต่เวลาหายเหลืองจะหายจากขาขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงหน้า

ถึงกระนั้น ถ้าหากกลับบ้านแล้วลูกมีอาการตัวเหลืองถึงขา ซึม ไม่กินนม เมื่อดูอาการแล้วไม่หายภายใน 7 วัน ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากภาวะตัวเหลือง ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้เด็กมีอาการผิดปกติ ชักเกร็ง และพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติได้

3. ดูดนมจากเต้านานจนเหนื่อยหอบ

ปกติเด็กแรกเกิดจะดูดนม ประมาณ 1-2 ออนซ์ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดน้ำหนักตัวของเด็ก โดยปกติใช้เวลาในการกินนม ไม่เกินครึ่งชั่วโมง จากนั้นเด็กจะหลับไปแล้วตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ประมาณ 3 ชั่วโมงเพื่อกินนมอีก อย่างไรก็ดี ในกรณีกินนมแม่ เด็กอาจจะดูดบ่อยทุกๆ 1-2 ชั่วโมง และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หากเกิดความผิดปกติ ลูกจะดูดนมได้น้อยลง ซึม หรือ ร้องกวน และจะใช้เวลาในการดูดนมนานกว่าปกติ หรือ ดูดนมแล้วมีอาการหอบเหนื่อย หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที


4. ไม่ถ่ายท้อง ร่วมกับท้องอืดบวม-อาเจียน

ช่วง 2-3 วันแรกเด็กจะถ่าย เป็นสีเทา หรือเขียวปนเหลือง จากนั้นจะกลายเป็นสีเหลืองทอง ถ้ากินนมแม่จะถ่าย เป็นฟอง หรือเป็นเม็ดมะเขือ ปนน้ำเนื้อเละๆ โดยถ่ายวันละ 6-10 ครั้ง ซึ่งอาการดังกล่าวไม่ใช่ภาวะท้องเสียแต่อย่างไร แต่เพราะนมแม่จะช่วยให้ย่อยได้ง่าย แต่ถ้ากินนมผสมจะถ่ายวันละ 2-3 ครั้ง ขึ้นกับชนิดของนมผสมที่รับประทาน

อย่างไรก็ดี ถ้า 2-3 วันไม่ถ่ายเลย พร้อมกับมีอาการท้องอืดบวม ดูไม่สบายตัว ประกอบกับมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ต้องระวังภาวะลำไส้อุดตันแต่กำเนิด หรือถ้าอุจจาระมีมูกเลือดปน ควรพามาพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีภาวะติดเชื้อในลำไส้ หรือเกิดภาวะแพ้นมวัวได้ ทางที่ดีควรกินนมแม่จะดีกว่า


5. อาการชัก

ปกติเด็กวัยนี้จะมีการสะดุ้ง ผวา สะอึก หรือมีภาวะแขนขาสั่น แต่จับแล้วจะหยุด พอปล่อยอาจจะ มีอาการสั่นๆ อีกเล็กน้อย อาการที่ ผิดปกติในทารกแรกเกิดนี้ การชักจะไม่เกร็งกระตุกเหมือนในเด็กโต แต่อาจมีอาการแค่เกร็ง ตาลอย และกระพริบตาถี่ๆ กำมือ เหมือนว่ายน้ำ ขาถีบสูงเหมือนปั่นจักรยาน ปากจะขมุบขมิบคล้ายดูดนมตลอดเวลา โดยมีอาการตาลอยค้างร่วมด้วย ซึ่งอาการแบบนี้ คุณหมอบอกว่า ควรรีบพามาพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีความผิดปกติทางสมอง เป็นโรคทางเมตาบอลิก หรือมีการติดเชื้อได้

นอกจากนี้ คุณหมอได้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ถึงการดูแลลูกรักเพิ่มเติมด้วยว่า เรื่องสะดือ ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เนื่องจากสะดือจะติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด และจะหลุดภายใน 7-14 วัน ถ้าหากดูแลไม่ดี อาจทำให้สะดืออักเสบ และติดเชื้อได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดสะดือลูกด้วยแอลกอฮอล์ หรือใช้น้ำอุ่นๆ เช็ดรอบๆ สะดือหลังอาบน้ำเสร็จทุกครั้ง ถ้าหากเกิดความความผิดปกติ เช่น เป็นแผล หรือเริ่มมีเลือดออก ดูแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

ขณะที่ดวงตาของเด็กแรกเกิดก็ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเช่นกัน เนื่องจากเด็กในช่วงนี้ ยังไม่สามารถกระพริบตาได้ดี อาจทำให้เชื้อโรคต่างๆ เข้าตาได้ง่าย ทางที่ดีคุณพ่อ คุณแม่ ควรเช็ดทำความสะอาดรอบๆ ดวงตาของลูกบ่อยๆ อย่างน้อย 2 เวลา คือ เช้า-เย็น โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกอุ่นๆ เช็ดจากหัวตา ไปยังหางตา ทั้งนี้ไม่ควรเช็ดซ้ำไป ซ้ำมา เพราะจะทำให้รอบดวงตาของลูกช้ำได้ รวมทั้งสำลีควรใช้แล้วทิ้ง ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกันทั้งสองข้าง

จากอาการทั้งหมด เป็นสัญญาณที่พ่อแม่จะต้องพึงระวัง อย่างไรก็ดี ช่วงเวลาหลังคลอด 1 เดือน ก่อนที่คุณหมอจะนัดลูกน้อยกลอยใจมาตรวจอีกครั้ง คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกให้ดีด้วยว่า มีความผิดปกติตามอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ ถ้าพบอาการตามที่คุณหมอบอก ให้รีบพามาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้ตรวจดูอาการ ความผิดปกติ พร้อมกับช่วยรักษาได้ทันท่วงที

Life & Family / Manager onine

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

Transfusion Safety in Pediatric Thalassemic Patients

Transfusion Safety in Pediatric Thalassemic Patients
รศ.พญ.พิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย เกิดจากความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีด ตัวเหลือง ตับและม้ามโต ผู้ป่วยที่ซีดมากจำเป็นต้องได้รับเลือดแดงอย่างสม่ำเสมอเพื่อบรรเทาอาการซีด การได้เลือดบ่อยอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้หลายประการ เช่น ปฏิกิริยาจากการรับเลือด มีไข้ หนาวสั่น การเกิดแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยและครอบครัวจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อมาพบแพทย์และรับเลือดในแต่ละเดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการทำงาน
ในที่นี้จะได้กล่าวถึง ขั้นตอนในการจัดหา การเตรียม และการให้เลือดแก่ผู้ป่วยเด็กโรคเลือดจางธาลัสซีเมียที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในมุมมองของทีมผู้รักษาและธนาคารเลือด ซึ่งมีเป้าประสงค์คือการให้ผู้ป่วยได้รับเลือดอย่างปลอดภัย ได้ชนิดและปริมาณของผลิตภัณฑ์ตามที่เหมาะสม เกิดผลแทรกซ้อนน้อยที่สุด และให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความสะดวกที่สุด โดยมีกลยุทธ์คือ ผู้ปฏิบัติทำงานเป็นทีม มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการทำงาน มีการประสานงานระหว่างทีมห้องตรวจกับทีมธนาคารเลือด มีแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เกิดปัญหาปฏิกิริยาจากการรับเลือด และมีการสร้างเสริมให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษา สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดี ได้ผลงานที่มีจุดเด่น คืออุบัติการณ์ของปฏิกิริยาจากการรับเลือดต่ำ และผู้ป่วยได้รับความสะดวก มาตรวจรักษาและรับเลือดได้แล้วเสร็จในวันเดียวกัน หนทางที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต ได้แก่ การวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่จากงานประจำ

Preventing Patient Falls

1. ณะทำงานได้มีการพัฒนารูปแบบการประเมินที่ชัดเจน แบ่งเป็น strict fall และ basic Fall โดยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะมีมาตรการประเมินและเฝ้าระวังอย่างครอบคลุม ได้แก่ การบันทึก fall score ในฟอร์มปรอท การประเมินซ้ำ การติดดาว เป็นต้น นอกจากนั้นทีมยังส่งเสริมให้มีนวัตกรรมในป้องกัน ส่งผลให้การรายงาน fall เพิ่มสูงขึ้นแต่ระดับความรุนแรงของ fall ลดลง

การประเมินความเสี่ยงต่อ falling

1. มีการประเมินสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย เช่น เตียง ราวข้างเตียง ดอกยางกันลื่น พื้นห้อง แสงสว่าง เป็นต้น

2. ประเมินความเสี่ยงของการลื่นล้ม ตกเตียงโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายการพยาบาล

- โดยประเมินแรกรับทุกราย

- ประเมินซ้ำเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือประเมินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ำ

- ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงให้ประเมินทุกวัน

การป้องกันการเกิด falling

ด้านผู้ป่วยและญาติ

1. เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การได้รับยา สภาพความไม่พร้อมของร่างกาย

2. ติดป้ายแนวปฏิบัติสั้นๆหรือคำแนะนำการป้องกันการหกล้ม ตกเตียงในห้องผู้ป่วย

3. นำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้เพื่อป้องกัน falling เช่น ผ้ากันเด็กตกเตียง ผ้าสายใยรัก โถผู้เฒ่า เป็นต้น

4. จัดเตียงนอนให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เช่นใช้เตียงเตี้ย หรือจัดให้นอนเตียงญาติถ้าผู้ป่วยขึ้นเตียงลำบาก

5. เน้นย้ำการเฝ้าระวัง falling กับผู้ป่วยและญาติบ่อยๆ

6. มีการส่งต่อเวรทุกเวรในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง

7. การรับประทานยา premedication จะต้องให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันให้เสร็จก่อน และหลังรับประทนยาแล้วย้ำการห้ามลุกเดิน ให้กดออดขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ถ้าต้องการทำกิจวัตรประจำวัน

8. เน้นย้ำและสื่อให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเต็มใจที่จะช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ

ด้านการสื่อสาร

1. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจะเขียนความเสี่ยง falling โดยใช้สีแดง (มีปัจจัยเสี่ยงสูง) ลงหน้า kardex เพื่อส่งเวร หรือมีการ conference

2. ตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด falling และบันทึกในบันทึกทางการพยาบาล

3. สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้รับรู้ข้อมูลภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และบอกถึงผลที่ตามมาของการหกล้ม

4. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับ High จะเขียนเป็น trigger tools ลงในสมุด treatment

5. ติดป้ายระวัง falling ภายในห้อง และหน้าห้องผู้ป่วย

6. การสร้างความตระหนักให้ญาติ โดย

- มีการแจ้งเตือนการเฝ้าระวังการลื่นล้มตกเตียงทุกเวร และทุกครั้งที่เข้าตรวจเยี่ยมอาการ

- แนะนำวิธีการกดออดเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่

- มีการสอนผู้ป่วยขึ้น-ลงเตียงแก่ญาติผู้ดูแล

- สื่อสารและเน้นย้ำให้เห็นผลกระทบของ Fall

- เน้นการให้ข้อมูล เช่น ให้เหตุผลของการจำกัดการเคลื่อนไหว อธิบายระยะเวลาการจำกัดจำกัด

การเคลื่อนไหว

- จัดทำป้ายสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยและญาติ เช่น ติดป้ายคำแนะนำการป้องกันการหกล้มตกเตียง ป้ายร่วมด้วยช่วยกันป้องกันการลื่นล้มตกเตียง หรือเขียนแนวปฏิบัติสั้นๆ ในห้องผู้ป่วย

ด้านสิ่งแวดล้อม

1. ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยให้สะอาดและปลอดภัย เช่นมีราวจับในห้องน้ำ พื้นห้องน้ำต้องแห้ง พื้นต้องไม่ลื่นเกินไป

2. ดูแลให้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น walker รองเท้าสำหรับผู้ป่วยควรมีดอกยางที่พื้นรองเท้าเพื่อป้องกันการลื่น

3. ดูแลการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อการลดระยะทางการเดินเข้าห้องน้ำ เช่น commode chair ในการขับถ่าย

4. อุปกรณ์และเตียงมีความเหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เช่น เตียงเตี้ย หรือเตียงที่สามารถปรับระดับได้

5. ตรวจสภาพอุปกรณ์ในห้อง เช่น ออดให้วางไว้ใกล้มือ ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล

ด้านบุคลากร

1. กำหนดให้มีการส่งเวรเรื่อง Falling ให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

2. การส่งเวรมีการเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตระหนัก และประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิด Falling ให้ครบถ้วน

เช่น ผู้ป่วยเสียเลือดมาก สับสน ได้ยานอนหลับ

3. การรับใหม่ มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบบุคคลที่จะให้ข้อมูลเรื่อง Falling แก่ผู้ป่วยและญาติ มีการมอบหมายงานชัดเจน

4. ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีการมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง

5. มีการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ

6. มีการสื่อสารกันในทีมการพยาบาล เช่น ติดป้ายเตือนหน้าห้อง บันทึกในฟอร์มปรอท หน้าใบ MAR และเขียนเป็น trigger tools ในสมุด Treatment

7. มีการรณรงค์การป้องกันการลื่นล้ม ตกเตียงเช่น จัดสัปดาห์การป้องกันการลื่นล้ม ตกเตียง

8. มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด falling

9. การจัดการเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการสับสน เช่นจัดให้นอนเตียงเตี้ย

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

Medication safety

High alert drug คือ ยาที่มีความเสี่ยงสูง ที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือผลเสียต่อผู้ป่วยที่รุนแรง ถ้าหากมีความผิดพลาดในการสั่งใช้ยา คัดลอกคำสั่งใช้ยา จ่ายยา หรือการให้ยา เช่น ยากันชัก(Dilantin,Valproate) ,Calcium Gluconate injection, KCl injection, Cyclophosphamide tablet , Insulin inj, Dopamine inj,

แนวทางปฏิบัติเมื่อมีการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง

1. การสั่งใช้ยาโดยแพทย์

1.1 เขียนคำสั่งใช้ยาอย่างครบถ้วน และชัดเจน เช่นระบุความแรง วิถีทางให้ยา และความถี่ของการให้ยา

1.2 หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล

1.3 หลีกเลี่ยงการสั่งจ่ายยาโดยวาจา/ทางโทรศัพท์ ถ้าจำเป็นให้ตรวจสอบและเซ็นต์กำกับคำสั่งใช้ยานั้นทันทีที่สามารถทำได้

2. การคัดลอกคำสั่งใช้ยา

2.1 ทบทวนคำสั่งใช้ยาให้เข้าใจทั้งชื่อยา ขนาดยา และวิธีการให้ยา หากไม่ชัดเจนควรติดต่อแพทย์ผู้เขียนคำสั่งโดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนลอกคำสั่งลงในการ์ดยา

2.2 คัดลอกคำสั่งแพทย์ลงในใบสั่งยาให้ครบถ้วนทั้งชื่อยา ขนาดยา และวิธีการให้ยา โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ไม่เป็นสากล

3. การตรวจสอบยา และการจ่ายยา

3.1 ตรวจสอบความถูกต้องทั้งชื่อผู้ป่วย ชนิดยา ขนาดยา และวิธีการให้ยา อย่างน้อย 2 ครั้งก่อนจ่ายยา หากไม่ชัดเจนให้ติดต่อกลับไปที่หอผู้ป่วย หรือแพทย์ผู้สั่งใช้ยาโดยตรง

3.2 ตรวจสอบวันหมดอายุของยา

3.3 ตรวจสอบความถูกต้องของการเตรียมยา เช่น การใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในกรณีที่ต้องละลายหรือเจือจางยา

3.4 หลีกเลี่ยงการรับคำสั่งใช้ยาทางโทรศัพท์ โดยคำสั่งใช้ยาต้องเป็นลายลักษณ์อักษร

4. การให้ยา

4.1 จัดเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยตามคำสั่งแพทย์

4.2 ให้ยาอย่างถูกต้องตามหลัก 6 R คือ ถูกต้องตามชนิดของยา ถูกต้องตามขนาดยา ถูกต้องตามวิถีทาง ถูกต้องตามเวลา ถูกต้องตามผู้ป่วย และการบันทึกการให้ยาถูกต้อง

4.3 ประเมินผลการตอบสนองของยานั้น และสังเกตอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หากเกิดขึ้นให้รายงานแพทย์ และแจ้งให้เภสัชกรทราบ

5. การเก็บรักษา

5.1 เก็บรักษายาให้เหมาะสมกับชนิดของยา เช่น ยาที่ต้องแช่เย็นเก็บในตู้เย็น ยากันแสงต้องเก็บในซองสีชา หรืออยู่ในภาชนะบรรจุที่ป้องกันแสง

5.2 ควรแยกยากลุ่มนี้ไว้ห่างกับยาที่มีรูปลักษณ์ภายนอกของภาชนะบรรจุที่คล้ายคลึงกัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการจ่าย/เตรียมยา

5.3 ติด Sticker สีแดงที่ภาชนะที่เก็บยา เพื่อให้ชัดเจน และเพิ่มความระวังในการใช้ยามากขึ้น

รายการยา High Alert Drug แยกตาม PCT หน้า

1. PCT อายุรกรรม

- Adrenaline Amiodarone ( Cordaroneâ) injection, tablet

Atropine

- Calcium Gluconate injection 4

- Cyclophosphamide tablet 5

- Digoxin tablet,injection 6

- Dobutamine injection 7

- Dopamine injection 8

- Enoxaparin injection 9

- Heparin injection 10

- Insulin 11

- Magnesium Sulfate Injection 12

- Methotrexate injection, tablet 13

- Nitroglycerine injection 14

- Nitroprusside Sodium injection 15

- Potassium Chloride injection 16

- Sodium bicarbonate injection 17

- Streptokinase injection 18

- Warfarin tablet 19

2. PCT ศัลยกรรมกระดูก

- Morphine Sulfate 20

- Pethidine Hydrochloride 21

3. PCT สูติ นรีเวชกรรม

- Oxytocin injection 22

- Magnesium sulfate injection 12

- Misoprostol tablet ( Cytotecâ ) 23

- Methylergometrine injection 24

- Terbutaline injection 25

- Sulprostone injection (Naladorâ) 26

4. PCT EENT หน้า

- Acetazolamide (Diamoxâ) 27

- Mannitol 28

5. PCT กุมารเวชกรรม

- Adrenaline 1

- Aminophylline 29

- Atropine injection 3

- Calcium Gluconate injection 4

- Deferoxamine injection 30

- Digoxin injection, Tablet, Elixir 6

- Dobutamine injection 7

- Heparin Solution 10

- Insulin 11

- Magnesium Sulfate Injection 12

- Phenobarbital injection 31

- Phenytoin injection 32

- Potassium Chloride injection 16

- Sodium bicarbonate injection 17

- Theophylline elixir (p.18) 33

6. PCT ศัลยกรรม

- Adrenaline injection 1

- Amiodarone ( Cordaroneâ) injection, tablet 2

- Atropine injection 3

- Calcium Gluconate injection 4

- Cyclophosphamide tablet 5

- Digoxin tablet,injection 6

- Dobutamine injection 7

- Dopamine injection 8

- Heparin injection 10

- Insulin 11

- Magnesium Sulfate Injection 12

- Methotrexate injection, tablet 13

- Morphine Sulfate 20

PCT ศัลยกรรม(ต่อ)

- Nitroglycerine injection 14

- Nitroprusside Sodium injection 15

- Octreotide injection 33

- Pethidine Hydrochloride 21

- Potassium Chloride injection 16

- Sodium bicarbonate injection 17

- Streptokinase injection 18

- Tamoxifen 34

- Warfarin tablet 19

SIMPLE

SIMPLE คือ เป้าหมายความปลอดภัยที่ทางกลุ่มงานกุมารยึดมั่นปฏิบัติเพื่อนำสู่ความปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยยึดหลัก Patient Safety Goals(SIMPLE) เป็นปรัชญาที่จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมใหม่ของการเปิดใจ ไม่กล่าวโทษ มุ่งประโยชน์อนาคต
S = Safe Surgery (2nd Global Patient Safety Challenge)
I = Infection Control (Clean Care ใน 1st Patient Safety Challenge)
M = Medication Safety
P = Patient Care Process
L = Line, Tube, Catheter
E = Emergency Response