วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

Preventing Patient Falls

1. ณะทำงานได้มีการพัฒนารูปแบบการประเมินที่ชัดเจน แบ่งเป็น strict fall และ basic Fall โดยในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะมีมาตรการประเมินและเฝ้าระวังอย่างครอบคลุม ได้แก่ การบันทึก fall score ในฟอร์มปรอท การประเมินซ้ำ การติดดาว เป็นต้น นอกจากนั้นทีมยังส่งเสริมให้มีนวัตกรรมในป้องกัน ส่งผลให้การรายงาน fall เพิ่มสูงขึ้นแต่ระดับความรุนแรงของ fall ลดลง

การประเมินความเสี่ยงต่อ falling

1. มีการประเมินสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วย เช่น เตียง ราวข้างเตียง ดอกยางกันลื่น พื้นห้อง แสงสว่าง เป็นต้น

2. ประเมินความเสี่ยงของการลื่นล้ม ตกเตียงโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายการพยาบาล

- โดยประเมินแรกรับทุกราย

- ประเมินซ้ำเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือประเมินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ำ

- ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงให้ประเมินทุกวัน

การป้องกันการเกิด falling

ด้านผู้ป่วยและญาติ

1. เน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การได้รับยา สภาพความไม่พร้อมของร่างกาย

2. ติดป้ายแนวปฏิบัติสั้นๆหรือคำแนะนำการป้องกันการหกล้ม ตกเตียงในห้องผู้ป่วย

3. นำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้เพื่อป้องกัน falling เช่น ผ้ากันเด็กตกเตียง ผ้าสายใยรัก โถผู้เฒ่า เป็นต้น

4. จัดเตียงนอนให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เช่นใช้เตียงเตี้ย หรือจัดให้นอนเตียงญาติถ้าผู้ป่วยขึ้นเตียงลำบาก

5. เน้นย้ำการเฝ้าระวัง falling กับผู้ป่วยและญาติบ่อยๆ

6. มีการส่งต่อเวรทุกเวรในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง

7. การรับประทานยา premedication จะต้องให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันให้เสร็จก่อน และหลังรับประทนยาแล้วย้ำการห้ามลุกเดิน ให้กดออดขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ถ้าต้องการทำกิจวัตรประจำวัน

8. เน้นย้ำและสื่อให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเต็มใจที่จะช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ

ด้านการสื่อสาร

1. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจะเขียนความเสี่ยง falling โดยใช้สีแดง (มีปัจจัยเสี่ยงสูง) ลงหน้า kardex เพื่อส่งเวร หรือมีการ conference

2. ตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด falling และบันทึกในบันทึกทางการพยาบาล

3. สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติให้รับรู้ข้อมูลภาวะเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย และบอกถึงผลที่ตามมาของการหกล้ม

4. ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับ High จะเขียนเป็น trigger tools ลงในสมุด treatment

5. ติดป้ายระวัง falling ภายในห้อง และหน้าห้องผู้ป่วย

6. การสร้างความตระหนักให้ญาติ โดย

- มีการแจ้งเตือนการเฝ้าระวังการลื่นล้มตกเตียงทุกเวร และทุกครั้งที่เข้าตรวจเยี่ยมอาการ

- แนะนำวิธีการกดออดเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่

- มีการสอนผู้ป่วยขึ้น-ลงเตียงแก่ญาติผู้ดูแล

- สื่อสารและเน้นย้ำให้เห็นผลกระทบของ Fall

- เน้นการให้ข้อมูล เช่น ให้เหตุผลของการจำกัดการเคลื่อนไหว อธิบายระยะเวลาการจำกัดจำกัด

การเคลื่อนไหว

- จัดทำป้ายสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยและญาติ เช่น ติดป้ายคำแนะนำการป้องกันการหกล้มตกเตียง ป้ายร่วมด้วยช่วยกันป้องกันการลื่นล้มตกเตียง หรือเขียนแนวปฏิบัติสั้นๆ ในห้องผู้ป่วย

ด้านสิ่งแวดล้อม

1. ดูแลสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยให้สะอาดและปลอดภัย เช่นมีราวจับในห้องน้ำ พื้นห้องน้ำต้องแห้ง พื้นต้องไม่ลื่นเกินไป

2. ดูแลให้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น walker รองเท้าสำหรับผู้ป่วยควรมีดอกยางที่พื้นรองเท้าเพื่อป้องกันการลื่น

3. ดูแลการใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อการลดระยะทางการเดินเข้าห้องน้ำ เช่น commode chair ในการขับถ่าย

4. อุปกรณ์และเตียงมีความเหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย เช่น เตียงเตี้ย หรือเตียงที่สามารถปรับระดับได้

5. ตรวจสภาพอุปกรณ์ในห้อง เช่น ออดให้วางไว้ใกล้มือ ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล

ด้านบุคลากร

1. กำหนดให้มีการส่งเวรเรื่อง Falling ให้เป็นกิจวัตรประจำวัน

2. การส่งเวรมีการเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตระหนัก และประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิด Falling ให้ครบถ้วน

เช่น ผู้ป่วยเสียเลือดมาก สับสน ได้ยานอนหลับ

3. การรับใหม่ มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบบุคคลที่จะให้ข้อมูลเรื่อง Falling แก่ผู้ป่วยและญาติ มีการมอบหมายงานชัดเจน

4. ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มีการมอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมง

5. มีการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ

6. มีการสื่อสารกันในทีมการพยาบาล เช่น ติดป้ายเตือนหน้าห้อง บันทึกในฟอร์มปรอท หน้าใบ MAR และเขียนเป็น trigger tools ในสมุด Treatment

7. มีการรณรงค์การป้องกันการลื่นล้ม ตกเตียงเช่น จัดสัปดาห์การป้องกันการลื่นล้ม ตกเตียง

8. มีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิด falling

9. การจัดการเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการสับสน เช่นจัดให้นอนเตียงเตี้ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น